Everyday Thai language school  



่Join Everyday Thai language school on Facebook
   
Thai Courses French Lessons Tuition Fees Teaching Materials Contact Us Learn Thai Online Application Form
Learn Thai language with video (Transcription of the Thai narration and English translation can be found below the video clip)
 
 

รู้สู้ flood ตอนที่ 3 เตรียมให้ชัวร์ ไม่ต้องกลัวน้ำ 

Episode 3: Getting started with flood preparation: what to do before the floods hits you?

(Transcription prepared by Everyday Thai language school)



ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ว่าน้ำจะท่วมบ้านเราหรือไม่ท่วม สิ่งหนึ่งที่เราควารทำได้คือ การเตรียมบ้านเราให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ แม้ยามที่ภัยมาเราก็ยังดูแลตัวเองได้และไม่ตกเป็นผู้ประสบภัย อย่าเพิ่งคิดว่าการเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมเป็นเรื่องยุ่งยาก เพียงตั้งสติและค่อยๆตรวจสอบบ้านของคุณตาม 3 ขั้นตอนดังนี้

In time of uncertainty should our houses be submerged in rising flood, what we can certainly do is to make sure that our house are readily protected from the flood water. So we can take care of ourselves and come out of the situation unharmed. Don’t jump to the idea that getting prepared for the flood is anything complicated. Just get yourself together and follow these 3 simple steps:

1. ตรวจสอบรอบบ้านด้วยการดูว่าสถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบันในพื้นที่บ้านของคุณเป็นอย่างไรบ้าง หมั่นติดตามสถานการณ์น้ำท่วมโดยรวม เพื่อประเมินสถานการณ์ ตรวจสอบเส้นทางคมนาคมรอบบริเวณบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงจุดที่น้ำท่วม ที่สำคัญที่สุดควรตรวจสอบหน่วยงานช่วยเหลือที่สำคัญ หรือศูนย์อพยพที่อยู่ใกล้คียง ควรรู้เส้นทางหรือเก็บหมายเลขโทรศัพท์ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในยามฉุกเฉินที่ต้องการความช่วยเหลือ

1. Check around the house. Check the current flood situation in your neighborhood. Constantly monitor the general flood situation. So you can assess the flood risk with up to date and adequate information. Investigate the nearby roads to avoid the flood affected area when you need to leave the house. The most important thing is to have information about flood relief centers or shelters nearby: how to get there, what their phone numbers are. These information could be very useful in time of emergency.

2. จัดการสินทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ การป้องกันน้ำเข้าและการจัดการกับข้าวของต่างๆ สำหรับการป้องกันน้ำเข้าอันดับแรกก็คือ การปิดประตูหน้าต่างที่อยู่ต่ำ จากนั้นจัดการกับรอยต่อที่อยู่ตามจุดต่างๆ เช่นรอยต่อประตู รอยต่ออิฐ รอยร้าว รอยต่อรอบสายไฟหรือสายโทรศัพท์ รวมถึงปลั๊กไฟและสวิทซ์จัดการใช้ซิลิโคนปิดรอยต่อทุกอย่างที่อยู่ต่ำให้สนิท อย่ามัวแต่สนใจน้ำด้านบนจนลืมอุดน้ำที่อาจดันมาจากด้านล่าง ทั้งจากท่อน้ำทิ้ง อ่างล้างหน้า และโถสุขภัณฑ์รวมถึงสนามหญ้าในบริเวณบ้านเอง ก็เป็นจุดที่น้ำจะดันซึมผ่านเข้ามาได้ สิ่งที่ควรคำนึงในการปิดบ้านไม่ใช่แค่น้ำ เพราะช่องว่างเหนือน้ำเข้ามาอาจเป็นจุดที่สัตว์มีพิษหรืออันตรายอื่นๆเข้ามาได้ ควรปิดหรือเฝ้าระวังให้ดี เมื่อป้องกันน้ำเข้าแล้วจึงหันมาจัดการกับข้าวของต่างๆ บ้านที่มีสัตว์เลี้ยงควรอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัยให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงลดภาระที่ต้องดูแล ทรัพย์สินขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ควรขนย้านขึ้นชั้นบนเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะเอกสารสำคัญทั้งหลายควรหุ้มวัสดุกันน้ำให้ดีและรวบรวมไว้ที่เดียวกัน หากเป็นทรัพย์สินขนาดใหญ่ เช่นตู้เย็น เครื่องซักผ้าหรืออื่นๆที่ไม่สะดวกต่อการขนย้าย จัดการหาทางป้องกันให้เรียบร้อย และที่สำคัญที่สุด ควรปิดแก็สและตัดวงจรไฟฟ้าเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ หากมีการแยกเบรกเกอร์กับชั้นบนสามารถตัดวงจรกับชั้นล่างได้ ส่วนทรัพย์สินขนาดใหญ่ อย่างเช่นรถยนต์ ควรหาทางจอดในที่สูงเพื่อหลีกหนีน้ำ แต่หากหาที่จอดไม่ได้ให้ลองศึกษาวิธีการคลุมรถส่วนล่างเพื่อปกป้องเครื่องยนต์ดูครับ

2. Manage your property and belongings. You may start with preventing the flood water from entering to your house and then to manage your belongings. We can prevent water entering by first making sure to shut all doors, windows and the like that are located at water level (or lower). You should also check around the house where there are hinges. Cracks, gaps including electricity/telephone cables including switch outlets should be properly sealed with silicone. Don’t think that water only comes from the above ground, it can also erupt from underground through the drains and pipes system under your sinks toiled bowls and bathtubs. Your garden lawn is also at risk of water pushing through the surface. It’s not only water that you need to protect your house from. There are poisonous insects or dangerous animals that may come with flood. Be sure to keep an eye on any space where these creatures enter or inhabit. Once you’ve finished flood-proofing your house, you can start to manage your belongings. For the pet owners, relocate your pets to safe areas as soon as possible. This is to prevent any possible infections and also relieve the burden of taking care of them. For the small movable valuables and belongings, move them t higher ground, especially the important documents, seal them with waterproof materials and keep them together in the same place. For larger items such as refrigerator or washing machine that is difficult to move, you should make necessary protection. Most importantly you must turn off your gas and electricity, otherwise any mishap could be fatal. If your house has separate breaker for ground floor and higher floors, you can only turn off breaker for ground floor. For car owners, if possible, find a parking space up on higher ground. If not, you should find other ways to cover the lower part of your car in order to protect the engine room.

3. เตรียมอยู่กับน้ำเพื่อให้เราสบายใจว่ายังอยู่ได้แม้ภัยมาโดยเน้นที่การเตรียมพร้อมแต่พอดี เพราะปริมาณของที่มากเกินไป แทนที่จะกลายเป็นสิ่งช่วยเหลือ อาจกลายเป็นภาระแทนได้ ก่อนที่จะเตรียมสิ่งของควรดูแลคนเป็นอันดับแรกก่อนโดยเฉพาะเด็ก ผู้ป่วย คนชรา ควรอพยพไปยังจุดปลอดภัยให้เร็วที่สุด เมื่อคนพร้อมแล้วเข้าสุ่ขั้นตอนการจัดชุดยังชีพของเราเอง โดยเริ่มจากนับจำนวนคนในครอบครัวของเราเพื่อประเมินสถานการณ์การเตรียมของอย่างสมเหตุสมผล ประกอบด้วย

3. Live with flood. For your own piece of mind while facing crisis, you should prepare your things but do so with moderation. Too much stuff can become a burden rather than being useful! Before preparing your stuff, take care of your family members first especially children, sick and elderly people. Evacuate them to safe place as soon as possible. When everybody is ready, we can start preparing the survival kits reasonably for the numbers of your family members. To survive the flood, you need:

น้ำเพื่อตัดกังวลกับสถานการณ์น้ำดื่มขาดตลาด เราควรมองหาซื้อเครื่องกรองน้ำไว้เป็นของตัวเอง เตรียมภาชนะไว้รองดื่มน้ำ รวมถึงสารทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างจาน เป็นต้น

Water: to steer clear from the shortage of drinking water, get your own water filter, prepare bottles and containers to fill up the water. Cleaning products such as dishwashing liquid can also come in handy.

อาหารสำเร็จรูปจะช่วยให้เราอยู่ในภาวะฉุกเฉินได้นานขึ้นควรเลือกอาหารสำเร็จรูปที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าช่วยปรุง ของจำพวกอาหารแช่แข็ง อาจอุ่นกินไม่ได้หากไฟโดนตัด ควรเตรียมที่เปิดกระป๋องหรือเตาแก๊สพกพาเล็กๆไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ส่วนจำพวกของมีคมต่างๆให้หาที่เก็บที่มิดชิด ป้องกันอันตรายยามน้ำมาและควรมีถุงดำเตรียมไว้ด้วย เตรียมอุปกรณ์จำเป็นหากไม่มีไฟฟ้าใช้ เช่นไฟฉาย เทียนไข ถ่านไฟฉาย

Non perishable food supplies: will help us to survive longer in flooding crisis. You should have instant food that is ready-to-eat and not requiring any cooking. Frozen food might be difficult to prepare if there’s no electricity. The bottle/can opener and portable gas stove can become very handy during emergency. As for the knives, keep them in secured place. Make sure you have garbage bags too. Have your stuff ready for living with no electricity such as flashlight, battery or candles.

การเตรียมยาควรเตรียมตั้งแต่ยาทั่วไป ยาสำหรับโรคประจำตัว สำหรับแมลงสัตว์กัดต่อย รวมถึงยากันยุงเพราะน้ำท่วมจะทำให้ยุงชุมเป็นพิเศษและควรเตรียมความพร้อมเรื่องการขับถ่าย โดยศึกษาวิธีการทำส้วมฉุกเฉินเอาไว้ด้วย

You should prepare medicines and supplies, both common medicines and specific medication for any congenital disease. Ointment for insect bites including mosquito repellent are lso necessary since flooding area will be infected with mosquitoes. Be prepared for the excretion issue by learning how to set up the temporary toilet.

เตรียมอุปกรณ์เพื่อการสื่อสารฉุกเฉิน เช่น แบตเตอร์รี่โทรศัพท์สำรอง หรือเครื่องรับวิทยุพกพา และควรมีอุปกรณ์เพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น เสื้อชูชีพ นกหวีด

Prepare equipment to ensure you can maintain communication in case of emergency such as extra mobile phone battery, radio receiver. You should also prepare necessary equipment for emergency rescue such as life jacket and whistle.

แม้สิ่งที่เราต้องดูแลในภาวะน้ำท่วมจะเยอะแต่หากคิดให้ดีๆแล้ว ก็ล้วนคิดมาจากชีวิตประจำวันเราทั้งสิ้น 1. ตรวจสอบรอบบ้าน 2. จัดการสินทรัพย์ 3. เตรียมอยู่กับน้ำ

Although there seems to be million things to think about just think that it’s as simple as your daily concerns. Just keep calm and follow these 3 simple steps:
1. Check around the house 2. Manage your property and belongings 3. Prepare to live with flood


หากคุณตั้งสติและค่อยคิดตาม 3 ขั้นตอนดังกล่าว การรับมือน้ำท่วมก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เราได้รวบรวมลิงค์ที่นำไปสู่ข้อมูลที่จำเป็นไว้ในคุณในคำบรรยายใต้คลิกนี้แล้ว ลองศึกษาและเลือกใช้ไว้ให้เหมาะกับบ้านคุณ ตอนหน้าเราจะพาไปเตรียมตัวรับมือน้ำท่วม ดูการใช้ชีวิตอยู่กับน้ำในภาวะที่น้ำมากันนะครับ

It’s not too difficult to tackle the flood if you stay calm and follow these 3 steps. Below the caption section of this clip are useful links to information that you can study and choose what is most helpful in your situation. Take a look at the next episode, where we’ll talk about how to live happily with the flood.

 
 
 
 
© Everyday Thai Language School. All rights reserved.