Learn Thai in Bangkok

Thai language readers for advanced learners (self-study) : Reading comprehension 11

เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญธนาคารพัฒนาเอเชียแนะให้ประเทศผู้นำเข้ากับผู้ส่งออกอาหารหารือ เรื่องการตลาดอย่างไม่เป็นทางการเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงราคา



อุปทานที่ไม่พอเพียง ในขณะที่อุปสงค์เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาอาหารในเอเชียพุ่งสูงขึ้นในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าปัญหามาจากนโยบายทางการเกษตรที่ไม่เข้มแข็ง นโยบายของรัฐบาลไม่สนใจกับการเกษตร และผลิตภาพทางการเกษตรไม่เพิ่มขึ้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการตลาด จะทำให้ราคาอาหารลดความแปรปรวนลงได้ และธนาคารอาหารเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยประเทศที่ประสบภาวะขาดแคลนอาหารได้ ด้วย

โดย Heda Bayron/Nittaya Maphungphong | Bangkok/Washington วันพุธ, 16 กุมภาพันธ์ 2011

ความแห้งแล้ง อุทกภัย และอุปทานที่ไม่พอเพียง ในขณะที่อุปสงค์เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาอาหารในเอเชียพุ่งสูงขึ้นในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา และผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ราคาอาหาร โดยเฉพาะข้าวสาลีจะสูงขึ้นต่อไปอีก เพราะจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ กำลังประสบกับความแห้งแล้ง

นาย Katsuji Matsunami ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความมั่นคงทางอาหารของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือที่เรียกย่อๆว่า ADB กล่าวถึงจุดอ่อนของระบบอุปทานอาหารที่โลกเพิ่งจะตระหนักว่า ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา เรามีเงินและความรู้ รวมทั้งสมรรถนะที่จะปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนในเรื่องนี้ แต่เราไม่ได้ทำอะไรเลย เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในที่ราบลุ่มมหาศาลของเอเชีย หรือปกป้องชาวไร่ชาวนารายย่อยจากภาวะความแห้งแล้ง

ส่วนนาย Nagesh Kumar หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ UNESCO สำหรับภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิคที่กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัญหามาจากนโยบายทางการเกษตรที่ไม่เข้มแข็ง นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้กล่าวว่า อุปทานเพิ่มไม่ทันอุปสงค์ เพราะในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นโยบายของรัฐบาลไม่สนใจกับการเกษตร และผลิตภาพทางการเกษตรไม่เพิ่มขึ้นเลย

และ หลังยุคปฏิวัติเขียวของคริสต์ทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ผลิตภาพทางการเกษตรกลับลดน้อยถอยลง ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกถูกนำไปใช้ในการสร้างที่อยู่อาศัยและโรงงาน เพื่อตอบสนองจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่วนแบ่งของการเกษตรในระบบเศรษฐกิจของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ในเอเชียอาคเนย์ กล่าวคือ อินโดนีเซีย ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เวียตนาม และมาเลเซีย ลดลงจาก 38.6% ในปี 1970 มาเป็น 14.5 % ในปี 2007

สำหรับปัญหาทางด้านอุปสงค์ และราคาที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆนั้น ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความมั่นคงทางอาหารของ ADB นาย Katsuji Matsunami แนะนำว่า การมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการตลาด จะทำให้ราคาอาหารลดความแปรปรวนลงได้ เจ้าหน้าที่ ADB ผู้นี้อยากเห็นประเทศผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในเอเชียอาคเนย์ มีที่ประชุมที่จะพบหารือกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะในเรื่องข้าว

ผู้เชี่ยวชาญยังให้ความเห็นไว้ด้วยว่า ธนาคารอาหารเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยประเทศที่ประสบภาวะขาดแคลนอาหารได้ด้วย

ค้นหาบทความนี้ได้ที่:
VOA News Thai

คำศัพท์





กล่าวคือ = namely, that is to say
การเกษตร = agriculture, farming, cultivation
แก้ไข = to make improvement, to repair, to revise
ขาดแคลน = shortage (of), lacking (in)
ข้าวสาลี = wheat
เข้มแข็ง = strong, resolute, industrious
คริสต์ทศวรรษ = Decades (Christian calendar)
ความมั่นคง = security, stability, solidity
จุดอ่อน = weak point, vulnerable spot
ชาวไร่ชาวนา = farmer, peasant
ตระหนัก = to realize, to be concerned about, to be aware of
ตอบสนอง = to respond, to answer
ถอย = to decrease, to diminish, to back up, to withdraw
ทศวรรษ = decade
ที่ราบลุ่ม = low alluvial plain, floodplain
ธนาคารพัฒนาเอเชีย = Asian Development Bank
นโยบาย = policy
น้ำท่วม = flood
บรรเทา = to relieve, to reduce
ปฏิวัติ = revolution
ปฏิวัติเขียว = green revolution
ปรับปรุง = to improve, to adjust
แปรปรวน = to be instable, change, turbulent, variable
ผลิตภาพ = productivity
ผู้นำเข้า = importer
ผู้ส่งออก = exporter
มหาศาล = very big, enormous, fantastic
ยุค = period, era, age
รายย่อย = small
โรงงาน = factory
เศรษฐกิจ = economy
สมรรถนะ = capacity
ส่วนแบ่ง = share, portion, part
หารือ = to consult, to talk over
แห้งแล้ง = arid, very dry
อุทกภัย = flood, flooding
อุปทาน = supply
อุปสงค์ = demand (economics)
เอเชียอาคเนย์ = South-East Asia